หน่วยที่ 5

หน่วยการเรียนที่ 5  การออกแบบการเรียนการสอน



การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System design)
รศ. ดร. ฉลอง ทับศรี
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


            การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional design and development) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ
            ในการดำเนินงานใด ๆ ก็ตาม ผู้รับผิดชอบจะต้องคำถึงถึงประสิทธิผล (Effectiveness) และประสิทธิภาพ (efficiency) ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั้นมักจะนำแนวคิดของระบบ (system) มาใช้ ทั้งนี้เพราะระบบจะประกอบด้วยวิธีการที่จะทำให้เราได้หลักการและกระบวนการในการทำงานเนื่องจากระบบจะมีกลไกในการปรับปรุง แก้ไข การทำงานในตัวเองของมันเอง โดยการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ทั้งนี้ถ้าเราเข้าใจระบบเราก็สามารถนำแนวความคิดไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้

ความหมายของระบบ
            มีผู้ให้ความหมายขอคำว่า ระบบ” (system) ไว้หลายคน เช่น บานาธี่ (Banathy, 1968) หรือ วอง (Wong, 1971) บานาธี่ ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบว่า ระบบ หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ความหมายของระบบตามแนวทางของวองก็จะมีลักษณะแนวทางใกล้เคียงกับของบานาธี่ โดยวองให้ความหมายของระบบวา ระบบ หมายถึง การรวมกลุ่มของส่วนประกอบต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้จากความหมายข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าระบบจะต้องมี
1. องค์ประกอบ
2. องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและ
3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ

ลักษณะของระบบที่ดี
         ระบบที่ต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และมีความยั่งยืน (sustainable) การมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ระบบนั้นจะต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact with environment)
2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ (purpose)
3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self – regulation)
4. มีการแก้ไขตนเอง (self – correction)

มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
          ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบๆ ตัวของระบบ โลกรอบ ๆ ตัวนี้ เรียกว่า สิ่งแวดล้อมการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เองทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็นระบบเปิด (open system) กล่าวคือ ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯ ระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต (outputs) แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกทีหนึ่ง ดังรูปภาพ






 จากภาพที่ 1 แสดงให้เห็นได้ว่าระบบมีการแลกเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ (สิ่งนำเข้าและผลผลิต) กับสิ่งแวดล้อม การแลกเปลี่ยนจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องเสมอต้นเสมอปลาย ในเรื่องสิ่งแวดล้อมของระบบนี้จะกล่าวถึงอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งในบทต่อไป

มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์
        ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง ระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นก็มีจุดมุ่งหมายสำหรับตัวของระบบเองอย่างชัดเจนว่า เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ดีที่สุดจุดมุ่งหมายนี้ดูออกจะไม่เด่นชัดสำหรับเรานักเพราะเราไม่ใช่ผู้คิดสร้างระบบดังกล่าวขึ้นมาเอง ลองดูตัวอย่างอีกตัวอย่าง คือ ระบบของรถยนต์โดยสารส่วนตัว ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือ เป็นยานพาหนะที่อำนวยความสะดวกสบายแก่มนุษย์ในเรื่องของความรวดเร็ว การทุ่นแรง

สามารถรักษาสภาพตัวเองได้
          ลักษณะที่สามของระบบ คือ การที่ระบบสามารถรักษาสภาพของตัวมันเองให้อยู่ในลักษณะที่มั่นคงอยู่เสมอ การรักษาสภาพตนเองทำได้โดยการแลกเปลี่ยนอินพุทและอาท์พุทกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบ หรือระบบย่อย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยๆ หรือระบบย่อยต่าง ๆ เช่น ปาก น้ำย่อย น้ำดี หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ฯลฯ 









จากภาพที่ 2 ซึ่งแสดงระบบการย่อยอาหารของคน ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ๆ (ระบบย่อย) หลายองค์ประกอบด้วยกัน การที่ระบบการย่อยอาหารจะทำงานได้ดี และรักษาสภาพการย่อยอาหารให้ทำงานได้สมบูรณ์ตลอดไปนั้น องค์ประกอบต่าง ๆ ต้องทำงานตามหน้าที่ของมัน และต้องทำงานให้สัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่น ๆ อีกด้วย เฉพาะการทำงานของปาก ลิ้น และฟันจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างดี ในขณะเคี้ยวอาหาร การที่ฟันไม่เคี้ยวลิ้นในขณะเคี้ยวอาหารนั้นก็เกิดจาการทำงานประสานอย่างดีนั่นเอง
การปรับและแก้ไขตนเอง
         ลักษณะที่ดีของระบบ คือ มีการแก้ไขและปรับตัวเอง ในการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมบางครั้งปฏิสัมพันธ์นั้นก็จะทำให้ระบบการรักษาสภาพตัวเอง (Self – regulation) ต้องย่ำแย่ไป ระบบก็ต้องมีการแก้ไขและปรับตัวเองเสียใหม่ ตัวอย่างเช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว (สภาพแวดล้อม) อาจจะทำให้เกิดอาการหวัดขึ้นได้ ในสถานการณ์นี้ ถ้าระบบร่างกายไม่สามารถที่จะรักษาสภาพตัวเองได้อย่างดี ร่างกายก็จะต้องสามารถที่จะปรับตัวเองเพื่อที่จะต่อสู้กับอาการหวัดนั้น โดยการผลิตภูมิคุ้มกันออกมาต้านหวัด
       
ในขณะที่ระบบสร้างผลผลิต (Output) ส่งออกไปสู่สิ่งแวดล้อม (environment) นั้นระบบก็จะนำเอาผลผลิตส่วนหนึ่งมาตรวจสอบโดยการป้อนเข้าที่ส่วนนำเข้า (input) ใหม่ ลักษณะนี้เรียกว่า การป้อนกลับ (feed back)


 การรักษาสภาพตัวเอง และการแก้ไขปรับแต่งตนเองนี้ เป็นคุณลักษณะที่สำคัญของระบบ เพราะจำทำให้ระบบมีลักษณะเป็นวงจรไม่ใช่เส้นตรง
ระบบเปิดและระบบปิด
         มองไปรอบ ๆ ตัวเราแล้วจะเห็นว่าประกอบไปด้วยระบบต่างๆ มากมายทั้งที่เป็นระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ระบบสุริยะจักรวาล ระบบลมบกลมทะเล ระบบหมุนเวียนโลหิต หรือระบบที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมา เช่น ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบการเงิน ระบบการธนาคาร ระบบไฟฟ้าของรถยนต์ ฯลฯ ระบบต่าง ๆ ตามที่กล่าวมานี้สามารถที่จำแนกออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ ระบบเปิด (open system) และระบบปิด (closed system)
     ระบบเปิด คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า (Input) จากสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต (output) กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง (Carlisle, 1976) ตัวอย่างระบบเปิดนั้นจะหาดูได้ทั่ว ๆ ไป เช่น ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบการสูบฉีดโลหิต ระบบหายใจ ฯลฯ
         ระบบปิด คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก แต่ขณะเดียวกันระบบปิดจะผลิตเอาท์พุดให้กับสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ตัวอย่างระบบปิดที่เห็นง่ายๆ ก็คือ ระบบถ่านไฟฉาย หรือระบบแบตเตอรี่ต่าง ๆ ตัวถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่นั้นถูกสร้างขึ้นมาให้มีพลังงานไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัว ภายในแบตเตอรี่หรือถ่านฉายก็มีองค์ประกอบย่อย ๆ ที่เรียกว่า ระบบย่อยอีกหลายระบบ ระบบย่อยแต่ละอย่างนี้ทำงานสัมพันธ์กันอย่างดี จนสามารถให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้ โดยที่ไม่ได้รับปัจจัยนำเข้าใหม่เข้าไปเลย การทำงานในลักษณะหรือสภาวะเช่นนี้ เบตเตอรี่จะมีลักษณะเป็นระบบปิด คือไม่ได้รับพลังงานจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเลย ระบบปิดนี้ปกติจะมีอายุสั้นกว่าระบบเปิด เนื่องจากระบบปิดนั้นทำหน้าที่เพียงแต่เป็น ผู้ให้เท่านั้น ในตัวอย่างแบตเตอรี่นั้น ถ้าเขาใช้ไฟไปนานๆ แบตเตอรี่ก็จะหมดไฟ และระบบแบตเตอรี่ดังกล่าวก็จะหมดสภาพไป ถ้าจะทำให้แบตเตอรี่สามารถทำงานได้นานขึ้น ก็ต้องทำให้การทำงานของแบตเตอรี่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นระบบเปิดขึ้นมา คือสามารถรับพลังงานจากภายนอกได้ พอเป็นระบบเปิดแล้วแบตเตอรี่ดังกล่าวก็สามารถที่จะมีสภาพหรือมีอายุนานขึ้น
         ระบบที่จะกล่าวถึงในที่นี้จะจำกัดอยู่แต่ระบบเปิด (Open system) เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากระบบเปิดคือระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้งาน เราสามารถวิเคราะห์ สามารถสร้างและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมันได อีกทั้งเป็นระบบที่มีความยีนยงอีกด้วย

ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีระบบ
          เรื่องของวิธีระบบ (System approach) นั้น ได้มีการกล่าวถึงอ้างอิงกันมาก จริง ๆ แล้วเกือบจะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดตามธรรมชาติจะถือว่าประกอบด้วยระบบอยู่ทั้งนั้น จักรวาลจัดเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดที่เรารู้จัก มนุษย์เป็นระบบย่อยลงมา ระบบแต่ละระบบมักจะประกอบด้วยระบบย่อย (subsystem) และแต่ละระบบย่อยก็ยังอาจจะประกอบด้วยระบบย่อยลงไปอีก


วิธีระบบ (System approach)
          วิธีระบบ คือแนวทางในการพิจารณาและแก้ไขปัญหา ซึ่งแนวทางดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด (Allen, Joseph and Lientz, Bennet p. 1978)
         ในปัจจุบันจะพบว่า วิธีระบบนั้นถูกนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง วิธีระบบจะเป็นตัวจัดโครงร่าง (Skeleton) และกรอบของงานเพื่อให้ง่ายต่อการที่จะนำเทคนิค วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ มาใช้ การทำงานของวิธีระบบจะเป็นการทำงานตามขั้นตอน (step by step) ตามแนวของตรรกศาสตร์
        ผู้ใช้วิธีระบบจะต้องเชื่อว่า ระบบประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (interrelated parts) และเชื่อว่าประสิทธิผล (effectiveness) ของระบบนั้นจะต้องดูจากผลการทำงานของระบบมิได้ดูจากการทำงานของระบบย่อยแต่ละระบบ

จากวิธีระบบสู่ระบบการเรียนการสอน
        แนวคิดของวิธีระบบ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
        วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา ปรับปรุงขึ้นเป็นลำดับ โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน (Model) ขึ้นหลากหลายรูปแบบ รูปแบบเหล่านี้เรียกชื่อว่า ระบบการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design systems) หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า การออกแบบการเรียนการสอน (instructional design)
        การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่อาศัยหลักการและทฤษฎีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษา
       จนถึงปัจจุบันนักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Instructional model) ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ รูปแบบเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ ทดสอบ และการปรับปรุงมาแล้วก่อนที่จะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ที่เชื่อได้ว่า ถ้านำไปใช้แล้วจะทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการสอนอย่างสูงสุด

       ประสิทธิผลและประสิทธิภาพนี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนไม่ว่าจะใช้กับจุดมุ่งหมายในการสอนลักษณะใด ผู้เรียนที่แตกต่างกันเพียงไร สถานการณ์สิ่งแวดล้อมหรือสื่อการสอนที่แตกต่างกันออกไป
       รูปแบบอันหลากหลายนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปในรายละเอียด แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะเห็นว่า ความแตกต่างนั้นมีไม่มากนัก รูปแบบการเรียนการสอนนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องของการเรียนการสอนโดยตรง เช่น สามารถนำไปใช้ในโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ใช้ในโรงพยาบาล สถานีตำรวจ ธนาคารหรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการให้ความรู้ การเปลี่ยนทัศนคติ หรือการฝึกทักษะต่าง ๆ

การออกแบบการเรียนการสอนไม่ใช่การสร้างระบบใหม่
         กิจกรรมการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design) นั้นไม่ใช่กิจกรรมการออกแบบและสร้างระบบการสอนขึ้นใหม่ แต่เป็นกระบวนการนำรูปแบบ (model) ที่มีผู้คิดสร้างไว้แล้วมาใช้ตามขั้นตอน (step) ต่าง ๆ ที่เจ้าของรูปแบบนั้นกำหนดไว้อาจจะมีคำถามว่า ถ้าไม่ได้ออกแบบระบบเอง ทำไมจึงใช้คำว่า ออกแบบการเรียนการสอนคำตอบที่ชัดเจนก็คือ ผู้ใช้รูปแบบ (model) ของการสอนนั้นจำเป็นต้องออกแบบตามขั้นตอนต่าง ๆ ของรูปแบบนั้น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบ (model) ที่มีผู้สร้างไว้ให้นั้นเป็นเพียงกรอบและแนวทางในการดำเนินงานเท่านั้น รายละเอียดต่างๆ ภายในขั้นตอนจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพปัญหา จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน และเงื่อนไขต่าง ๆ

การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design)
         จากที่กล่าวมาในตอนต้น ๆ ทำให้ทราบความเป็นมาของระบบการสอนรวมถึงคำว่า ระบบว่าเป็นอย่างไร และปรับเปลี่ยนดัดแปลงการออกแบบการเรียนการสอนด้วยเหตุใด ต่อไปนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของการออกแบบการเรียนการสอน โดยจะเริ่มจากความเป็นมา ความหมาย ระดับของการออกแบ องค์ประกอบ รูปแบบของการออกแบบการเรียนการสอน และสุดท้ายคือ กระบวนการขั้นตอนการออกแบบการเรียนการสอน


ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
        การออกแบบการเรียนการสอน (ID) เกิดจากการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach) ในการฝึกทหารของกองทัพบกอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ใด ๆ ไม่ควรจะเกิดอย่างบังเอิญ แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มีกระบวนการ มีขั้นตอน และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน
        ในการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ สาขาต่าง ๆ อันได้แก่ จิตวิทยาการศึกษา การสื่อความหมาย การศึกษาศาสตร์ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม

ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน
.....การออกแบบการเรียนการสอน คือ ศาสตร์ (Science) ในการกำหนดรายละเอียด รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งในเนื้อหาจำนวนมาก หรือเนื้อหาสั้น ๆ (Richey, 1986)

ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
....เป้าหมายหลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก ๆ อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยง ปัญหาดังกล่าวคือ
.....1. ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
.....2. ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
.....3. ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
.....4. ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
.....5. ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraint)


ปัญหาด้านทิศทาง
.....ปัญหาด้านทิศทางของผู้เรียนก็คือ ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร
ต้องสนใจจุดไหน สรุปแล้วพูดไว้ว่าเป็นปัญหาด้านจุดมุ่งหมาย
ปัญหาด้านการวัดผล
.....ปัญหาการวัดผลนี้จะเกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะมีปัญหา เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการที่ตนใช้อยู่นั้นใช้ได้ผลดี ถ้าจะปรับปรุงเนื้อหาที่สอนจะปรับปรุงตรงไหน จะให้คะแนนอย่างยุติธรรมได้อย่างไร
ปัญหาของผู้เรียนเกี่ยวกับการวัดผลอาจเป็น ฉันเรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งนี้ ข้อสอบยากเกินไป ข้อสอบกำกวม อื่น ๆ
ปัญหาด้านเนื้อหา และการลำดับเนื้อหา
.....ปัญหานี้เกิดขึ้นกับครูและผู้เรียนเช่นเดี่ยวกัน ในส่วนของครูอาจจะสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน เนื้อหายากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน และอื่น ๆ อีกมากมาย ในส่วนของผู้เรียนก็จะเกิดปัญหาเช่นเดี่ยวกับที่กล่าวข้างต้นอันเป็นผลมาจากครู อาจเป็นการสอนหรือวิธีการสอนของครูทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าห้องเรียน มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหาการสอนที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ เช่น ตั้งเป้าหมายไว้ว่าให้ผู้เรียนสามารถใช้กล้องถ่ายวิดีโอได้อย่างชำนาญ แต่วิธีสอนกลับบรรยายให้ฟังเฉย ๆ และผู้เรียนไม่มีสิทธิจับกล้องเลย เป็นต้น




ปัญหาข้อจำจัดต่าง ๆ
.....ในการสอนหรือการฝึกอบรมนั้นต้องใช้แหล่งทรัพยากร 3 ลักษณะ คือ บุคลากร ครูผู้สอน และสถาบันต่าง ๆ บุคลาการที่ว่านี้อาจจะเป็นวิทยากร ผู้ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น พนักงานพิมพ์ ผู้ควบคุมเครื่องไม้เครื่องมือ หรืออื่น ๆ
.....สถาบันต่าง ๆ หมายถึง แหล่งที่เป็นความรู้ แหล่งที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนต่าง ๆ อาจเป็นห้องสมุด หน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น

องค์ประกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
.....ดังได้กล่าวข้างต้นว่า การออกแบบการเรียนการสอนให้หลักการแนวทางของระบบ ดังนั้นในการออกแบบการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้ และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อันได้แก่ กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากการประเมินผลที่เรียกว่า การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง (formative evaluation)
       เนื่องจากมีรูปแบบ (Model) สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ประกอบในรูปแบบนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็จะยึดแนวทางของรูปแบบดั้งเดิม (generic model)

รูปแบบดั้งเดิม (Generic model)
.....1. การวิเคราะห์ (Analysis)
.....2. การออกแบบ (Design)
.....3. การพัฒนา (Development)
.....4. การนำไปใช้ (Implementation)
.....5. การประเมินผล (Evaluation)
.....จากรูปแบบดังเดิม (Generic model) นี้จะมีผู้รู้ต่าง ๆ นำไปสังเคราะห์เป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ตามความเชื่อความต้องการของตน

รูปแบบต่าง ๆ ของการออกแบบการเรียนการสอน
....ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่มีผู้คิดสร้างขึ้นเพื่อให้เห็นองค์ประกอบ รายละเอียดโดยสังเขปและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ

รูปแบบการสอนของดิคค์และคาเรย์ (Dick and Carey model)
.....รูปแบบการสอน (Model) ของดิคค์และคาเรย์ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้วย 10 ขั้นด้วยกัน คือ
.........1. การกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอน (Identify Instructional Goals)
.........2. ดำเนินการวิเคราะห์การเรียนการสอน (Conduct Instructional Analysis)
.........3. กำหนดพฤติกรรมก่อนเรียนและลักษณะผู้เรียน (Identify Entry Behaviors, Characteristics)
.........4. เขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (Write Performance Objective)
.........5. พัฒนาข้อสอบอิงเกณฑ์ (Develop Criterion - Referenced Test Items)
.........6. พัฒนายุทธวิธีการสอน (Develop Instructional Strategies)
.........7. พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop and Select Instructional Materials)
.........8. ออกแบบและดำเนินการประเมินเพื่อการปรับปรุง (Design and Conduct Formative Evaluation)
.........9. การปรับปรุงการสอน (Revise Instruction)
.........10. การออกแบบและดำเนินการประเมินระบบการสอน (Design and Conduct Summative E valuation)



ระบบการสอนของเกอร์ลาชและอีลาย (Ger lach and Ely Model) เกอร์ลาชและอีลายเสนอรูปแบบการออกแบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบ 10 อย่างด้วยกันคือ
............1. การกำหนด เป็นการกำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร แค่ไหน อย่างไร
............2. การกำหนดเนื้อหา (Specify Content) เป็นการกำหนดว่าผู้เรียนต้องเรียนอะไรบ้างในอันที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
............3. การวิเคราะห์ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน (Analyze Learner Background Knowledge) เพื่อทราบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน
............4. เลือกวิธีสอน (Select Teaching Method) ทำการเลือกวิธีสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
............5. กำหนดขนาดของกลุ่ม (Determine Group Size) เลือกว่าจะสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่อย่างไร
............6. กำหนดเวลา (Time Allocation) กำหนดว่าจะใช้เวลาในการสอนมากน้อยเพียงใด
............7. กำหนดสถานที่ เครื่องอำนวยความสะดวก (Specify Setting and Facilities) กำหนดว่าจะสอนที่ไหน ต้องเตรียมอะไรบ้าง
............8. เลือกแหล่งวิชาการ (Select Learning Resources) ต้องใช้สื่ออะไร อย่างไร
............9. ประเมินผล (Evaluation) ดูว่าการสอนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
............10. วิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงแก้ไข (Analyze Feedback for Revision) เป็นการวิเคราะห์ว่าถ้าการสอนไม่ได้ผลตามจุดมุ่งหมายจะทำการปรับปรุงแก้ไขตรงไหนอย่างไร



จากตัวอย่างรูปแบบระบบการสอนที่ยกมาจะเห็นว่าจะอยู่ในกรอบของรูปแบบดังเดิม (Generic model) ทั้งสิ้น

การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
.....การวิเคราะห์ระบบ คือ กระบวนการศึกษาขอบข่าย (Network) ของปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบ เพื่อจะเสนอแนวทางในการดำเนินการเพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบนั้น ๆ (Semprevivo , 1982)
.....ในการออกแบบการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการสอนของใครก็ตาม จะมีกลไกหรือมี ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ระบบอยู่แล้ว ข้อมูลดังกล่าวคือ ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ต่าง ๆ การที่ระบบการสอนมีองค์ประกอบให้เห็นอย่างชัดเจนและแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ ต่าง ๆ อย่างชัดเจน จะช่วยให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ว่าปัญหาระบบเกิดจากอะไร
.....การดำเนินการวิเคราะห์ระบบในรูปแบบ (Model) การสอนต่าง ๆ นั้นทำได้ง่ายเพราะมีผู้จัดสร้างกลไกและจัดหาข้อมูลเตรียมไว้ให้แล้ว แต่ถ้าจะดำเนินการวิเคราะห์ระบบอื่นใดที่นอกเหนือไปจากนี้แล้วกระบวนการคิดวิเคราะห์ก็จะต้องมีรายละเอียดและกระบวนการเพิ่มมากขึ้น ในที่นี้จะขอเสนอแนวทางในการวิเคราะห์ระบบสำหรับระบบโดยทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ระบบการเรียนการสอน ในการวิเคราะห์ระบบจะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เป็นวงจรชีวิต (Life cycle) ดังต่อไปนี้ คือ
............1. การกำหนดปัญหา (Problem definition)
............2. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (Data collection and analysis)
............3. การวิเคราะห์ทางเลือกของระบบ (Analysis of system alternatives)
............4. ศึกษาความเป็นไปได้ของทางเลือก (Determination 0f feasibility)
............5. การพัฒนาแนวคิดเพื่อเสนอขอความคิดเห็น (Development 0f the systems proposal)
............6. การพัฒนาและทดลองใช้ต้นแบบ (Pilot of prototype systems development)
............7. การออกแบบระบบ (System design)
............8. การพัฒนาโปรแกรม (Program development)
............9. การนำระบบใหม่เข้าไปใช้ (System implementation)
............10. การตรวจสอบและการประเมินระบบ (Systems implementation)

.....กิจกรรมทั้ง 10 นี้ ปกติแล้วจะไม่สามารถดำเนินการในลักษณะที่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดได้
เพราะในลักษณะการทำงานจริง กิจกรรมเหล่านี้จะมี่ความเกี่ยวโยงกันจนแยกไม่ออก ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า กระบวนการวิเคราะห์ระบบทั้ง 10 นี้ ข้อที่กล่าวมาข้างต้นใช้สำหรับการ วิเคราะห์ระบบที่นอกเหนือจากระบบการเรียนการสอน ทั้งนี้เนื่องจากระบบการเรียนการสอนนั้นได้สร้างกลไกและข้อมูลสำหรับตรวจสอบแก้ไขระบบอยู่ในตัวแล้ว วิธีการเชิงระบบในการออกแบบการเรียนการสอน โดย ผศ.ดร.รสสุคนธ์ มกรมณี
.....ในการดำเนินภารกิจการสอน ครูจะต้องมีการวางแผนจัดการเรียนรู้และตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้นั้นๆ ให้ดีเสียก่อน เพื่อเป็นข้อมูลในเตรียมเนื้อหาบทเรียนและวิธีการสอนที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์คือการที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การจัดระบบการเรียนการสอนคือกระบวนการที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้สอนว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และถ้าหากมีปัญหาหรือความผิดพลาดเกิดขึ้น ก็จะสามารถแก้ไขได้ตรงจุด การเรียนการสอนจึงมีการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายหลักของการจัดระบบการเรียนการสอนมี 2 ประการคือ
..........1. เพื่อจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยใช้วิธีการต่างๆ ในการเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
..........2. เพื่อออกแบบระบบการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการที่เป็นระบบในการออกแบบ การวางแผน การนำไปใช้ และการประเมินกระบวนการทั้งหมดของระบบการสอนนั้น
ระบบการเรียนการสอนต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนมาร่วมกันทำงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม


การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System Design)
.....ความนำ ในการจัดทำเอกสารชุดนี้ ผู้เขียน จะกล่าวถึงการออกแบบระบบการเรียนการสอนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปพัฒนาเป็นบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะขอแบ่งขั้นตอนการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
....ก. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)
....ข. ขั้นการออกแบบบทเรียน (Design)
....ค. ขั้นการพัฒนาบทเรียน (Development)
....ง. ขั้นการจัดทำบทเรียน (Implementation)
....จ. ขั้นการประเมินบทเรียน (Evaluation)

....ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอน ผู้เขียนขอนำเสนอเนื้อหาพื้นฐานทีเกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการเรียนการสอน เพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้นบางประการให้เข้าใจตรงกันก่อนดังนี้
.....ความหมาย การออกแบบระบบการเรียนการสอน เป็นการนำเอาวิธีระบบ (System Approach) มาประยุกต์ใช้กำหนดรูปแบบ ของการวางแผนจัดการเรียนการสอนกล่าวคือ ในการวางแผนจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง จะมีการพิจารณาที่ปัจจัย (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) และผลกระทบ (Impact)




….1.การจัดทำ แผนการสอน ของครูเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนจำนวน 1- 2 ชั่วโมง ก็ถือว่าเป็นการออกแบบการสอนได้ หากมีการจัดทำแผนการสอนพิจารณาปัจจัยของการจัดการเรียนการสอนเช่นเป้าหมายของการสอน วัตถุประสงค์ของการสอน มีการวิเคราะห์เนื้อหา เลือกกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม เลือกสื่อและวิธีการประเมินผลได้สอดคล้องกับกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของการสอน เมื่อนำแผนไปใช้จัดการเรียนการสอนแล้ว มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ประเมินกระบวนการทั้งหมดของแผนการสอน เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแผนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

…..2.จากแผนการสอนที่ครูจัดทำเพื่อใช้สอนเพียง 1- 2 ชั่วโมง อาจมีการขยายขอบข่ายของเนื้อหาออกเป็น หน่วยการเรียนรู้ ที่สามารถใช้สอนได้หลายๆ ชั่วโมงขึ้นเป้าหมายของการสอน เป็นเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งอาจเรียกว่าจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดจุดประสงค์ปลายทาง มีการออกแบบเพื่อประเมินความรู้ของผู้เรียนก่อนเรียน มีการวิเคราะห์เนื้อหา กำหนดเนื้อหาย่อยๆ มีกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมย่อยๆ หลายกิจกรรม มีการวางแผนการเลือกใช้หรือจัดทำสื่อการสอน ในแต่ละกิจกรรมมีการนำเสนอเนื้อหา การฝึกและการประเมินผลระหว่างเรียน และประเมินผลหลังเรียนเมื่อเรียนจบหน่วย เราอาจเรียกการออกแบบการสอนในลักษณะนี้ว่า ชุดการเรียน

….3.หากเรากำหนดเนื้อหาและเป้าหมายของการสอนทั้ง คอร์ส (รายวิชา) หรือทั้งหลักสูตรแบ่งเนื้อหาทั้งหมดออกเป็นหน่วยย่อยๆ แล้วดำเนินการเช่นเดียวกับที่กล่าวในข้อ 2 ก็จะทำให้เรามี ชุดการเรียน หลายๆ ชุด ที่เป็นรายวิชาเดียวกัน จัดระบบใหม่ให้มีการประเมินผู้เรียนให้ครอบคลุมตลอดรายวิชา สามารถนำผลการประเมินทั้งระหว่างเรียนในแต่ละชุดการเรียน และหลังจากที่เรียนครบทั้งรายวิชาแล้ว มาประเมินและตัดสินผลการเรียนของรายวิชาได้ เราก็เรียกว่า Courseware

....จากการแบ่งระดับของการออกแบบระบบการเรียนการสอนออกเป็น 3 ระดับดังกล่าวเมื่อพิจารณาคุณลักษณะ กระบวนการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะพบว่า ระดับแผนการสอนเป็นการออกแบบโดยผู้สอนเอง ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการสอนเอง เนื้อหาที่สอนเป็นเนื้อหาสั้นๆ ครูมักเลือกใช้สื่อที่มีอยู่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากกว่าผลิต ส่วนการออกแบบระบบการเรียนการสอนในระดับตั้งแต่ชุดการเรียนถึงระดับคอร์สแวร์ อาจเป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะที่ใช้เป็นบทเรียนหลัก(ComprehensiveReplacement Media) บทเรียนเพิ่มเติม (Complementary Media) และบทเรียนเสริม(Supplementary Media) เนื้อหาที่จัดทำมีความซับซ้อนขึ้น การออกแบบบทเรียนต้องคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา คุณลักษณะของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของผู้เรียน วิธีการนำเสนอบทเรียน การเลือกใช้สื่อและยุทธวิธีในการสอน การวัดและประเมินผล ต้องมีการทดลองใช้และปรับปรุงก่อนที่จะนำไปใช้จริง จึงต้องใช้บุคลากรหลายฝ่ายมาร่วมทำงานเป็นทีม
....บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในการออกแบบระบบการเรียนการสอนในระดับตั้งแต่ชุดการเรียนถึงระดับคอร์สแวร์นั้น ต้องอาศัยบุคคลหลายฝ่ายมาร่วมมือกัน ดังนี้
.....1. ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (Content Expert)
.....2. นักออกแบบการสอน (Instructional Designer)
.....3. นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
.....4. ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialist)
.....5. ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมประยุกต์ (Programmer)

ประเภทของเนื้อหา

.....ในการออกแบบระบบการเรียนการสอนเพื่อการนำไปจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์นั้น
การเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับการที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นเรา
จึงควรทำความเข้าใจกับลักษณะของเนื้อหาประเภทต่างๆ ก่อน ไพฑูรย์ ปลอดอ่อน หน้า 3 14/03/49

.....Gagne (1985) ได้แบ่งประเภทของการเรียนรู้ไว้ 4 ประเภท ได้แก่
.....1. เนื้อหาที่เน้นการท่องจำ (Verbal Information)
.....2. เนื้อหาทางด้านทักษะทางปัญญา (Intellectual Skill)
.....3. เนื้อหาทางด้านทักษะทางร่างกาย (Psychomotor Skill)
.....4. เนื้อหาประเภทเจตคติ (Attitude)

.....เนื้อหาที่เหมาะสมจะนำมาออกแบบในรูปของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ควรเป็นเนื้อหา ประเภทที่เน้นการท่องจำ (Verbal Information) และเนื้อหาทางด้านทักษะทางปัญญา (Intellectual Skill) มากกว่าเนื้อหาทางด้านทักษะทางร่างกาย (Psychomotor Skill) และเนื้อหาประเภทเจตคติ (Attitude)





โครงสร้างเนื้อหา
.....เนื้อหาบทเรียนที่เราจะนำมาออกแบบการสอนแต่ละเนื้อหาจะมีโครงสร้างแตกต่างกัน ซึ่งลักษณะโครงสร้างของเนื้อหานี้
จะมีส่วนสำคัญที่กำหนดให้เส้นทางการจัดการเรียนรู้ดำเนินไปในรูปแบบใดในที่นี้ผู้จัดทำจะขอนำเสนอลักษณะโครงสร้างของเนื้อหาที่สำคัญๆ 3 ลักษณะดังนี้
.....1. เนื้อหาที่มีลักษณะแบบระนาบ เนื้อหาย่อยๆแต่ละเนื้อหามีความสำคัญเท่าๆ กัน และสามารถเรียนเนื้อหาใดก่อนก็ได้โครงสร้างของเนื้อหาจึงอาจเขียนได้ดังแผนภูมิต่อไปนี้




.....2.เนื้อหาที่มีลักษณะแบบลำดับขั้น เนื้อหาย่อยๆแต่ละเนื้อหามีลำดับ ก่อน หลังการจัดการเรียนรู้จะต้องจัดจากเนื้อหาแรก ไปก่อนตามลำดับในลักษณะขั้นบันได

.....3.เนื้อหาที่มีลักษณะผสม มีเนื้อหาย่อยๆหลายเนื้อหา แต่ละเนื้อหาย่อยๆมีทักษะย่อยๆที่ผู้เรียนต้องศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถสมบูรณ์เสียก่อนจึงจะผ่านไปเรียนเนื้อหาย่อยอื่นๆ ได้ เมื่อเรียนครบทุกเนื้อหาย่อยๆ แล้วจะมีความรู้ครบตามที่บทเรียนกำหนด
.....นอกจากลักษณะเนื้อหาที่กล่าวมาแล้ว อาจมีลักษณะเนื้อหาอื่นๆ ที่แตกต่างไปบ้าง แต่อาจเป็นในลักษณะการผสมผสานกันของทั้ง 3 ลักษณะที่กล่าวมานี้


ก. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) ในการออกแบบระบบการเรียนการสอน ผู้ออกแบบจะต้องทำการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
.....1. วิเคราะห์หลักสูตร (Curriculum Analysis) โดยปกติ หลักสูตรจะมีจุดประสงค์ปลายทางของหลักสูตรแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 เรียกว่า ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์หลักสูตรกลุ่มสาระเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมปีที่ 4 จากคู่มือการจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ 23 ข้อ ผู้จัดทำเลือกผลการเรียนรู้ที่คาดหวังข้อ 1 - 7 ซึ่งเป็นผลการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องพืชมาเป็นตัวอย่างของจุดประสงค์ปลายทาง ในคู่มือกำหนดให้ใช้เวลาเรียนเนื้อหาส่วนนี้จำนวน 25 ชั่วโมง ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและของสาระการเรียนรู้
.....2. การวิเคราะห์ผู้เรียน (Learners Analysis) เป็นการศึกษากลุ่มเป้าหมายที่จะใช้บทเรียนว่ามีคุณลักษณะอย่างไร เช่นความสามารถทางการเรียนรู้ พื้นฐานความรู้ของผู้เรียนทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ความชอบเกี่ยวกับรูปแบบการเรียน ความกระตือรือร้นในการเรียน

.....3. การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เมื่อทำการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เราจะได้สาระการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กัน ดังด้านขวาของตารางในข้อ 1 แสดงว่าหน่วยการเรียนรู้เรื่องพืช เรามีเนื้อหาย่อยๆ ให้นักเรียนศึกษา 7 เรื่อง ในขั้นต่อไปผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จะต้องทำการวิเคราะห์เนื้อหาย่อยๆ จัดทำเป็นผังมโนทัศน์ (Concept Mapping)ของผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและของสาระการเรียนรู้
....4. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการเรียน เช่นการเรียนทางไกลที่ผู้เรียนต้องเรียนจากบทเรียนแทนการเรียนการสอนในชั้นเรียน ซึ่งจะต้องออกแบบให้สมบูรณ์ที่สุดหากเป็นบทเรียนเสริมการเรียนในชั้นเรียนก็อาจไม่ต้องสมบูรณ์เท่าสภาพแวดล้อมของการเรียนอีกด้านหนึ่งก็คือ ความพร้อม สมบูรณ์ และเพียงพอของฮาร์ดแวร์ ระบบเครือข่าย รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ออกแบบระบบการเรียนการสอนจึงต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนเหล่านี้ด้วย

....5. การวิเคราะห์ภาระงานหรือวิเคราะห์ภารกิจ (Task Analysis) การวิเคราะห์ภาระงานถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากสำหรับการออกแบบระบบการเรียนการสอน การกำหนดเนื้อหาและการแตกเนื้อหาที่ซับซ้อนออกเป็นเนื้อหาย่อยๆ ที่เหมาะสม เพื่อจัดลำดับและเส้นทางการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการวิเคราะห์ทักษะที่ต้องการสอนอย่างครบถ้วนการวิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียน จะช่วยให้ผู้ออกแบบกำหนดลำดับกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสม

ข. ขั้นการออกแบบบทเรียน (Design)
หลังจากได้วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ของการออกแบบระบบการเรียนการสอนแล้ว ในขั้นต่อไปก็คือนำข้อมูลที่วิเคราะห์ทั้งหมดมาเริ่มออกแบบ ซึ่งมีขั้นตอนและรายละเอียดดังต่อไปนี้

....1. การกำหนดเป้าหมายของการเรียน (Goal) จากการวิเคราะห์หลักสูตรหน่วยการเรียนรู้เรื่องการดำรงชีวิตของพืช ก็คือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังทั้ง 7 ข้อได้แก่
....1.1 ทดลองและอธิบายหน้าที่ของราก ใบ ลำต้น
....1.2 สังเกตและสำรวจ เขียนภาพแสดงส่วนประกอบของดอกและอธิบายหน้าที่ของดอก
....1.3 ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยบางประการที่จำเป็น ได้แก่ แสง น้ำ ความชื้นในดินต่อการเจริญเติบโตของพืช
....1.4 ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยบางประการที่จำเป็นได้แก่ แสง คลอโรฟิลด์ ต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
....1.5 สังเกต สำรวจ และอธิบายการ เจริญเติบโตของพืชตั้งแต่ต้นอ่อน จนมีดอกและมีผล
....1.6 สังเกตและเขียนแผนภาพแสดงวัฏจักรของพืชที่เลือกศึกษาตามความสนใจ
....1.7 ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าได้แก่แสง เสียง สัมผัส
….2. กำหนดเนื้อหา ขั้นตอนนี้เป็นการตัดสินใจเลือกเนื้อหาให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการสอนที่กำหนด ทำการวิเคราะห์เนื้อหา แยกย่อยเนื้อหาให้เป็นเนื้อหาย่อยๆ จัดลำดับเนื้อหาตามลักษณะโครงสร้างของเนื้อหา พร้อมที่จะวิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)
หรือกิจกรรมของผู้เรียนในขั้นตอนต่อไป
....3. การกำหนดภารกิจ (Task Analysis) หากในขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหา นักออกแบบการสอน สามารถวิเคราะห์เนื้อหาและทักษะที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหาแล้ว การทำงานในขั้นตอนการกำหนดภาระงานก็จะไม่ยุ่งยาก
........การกำหนดภารกิจ เป็นการกำหนดลำดับขั้นของกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยอาศัยลำดับขั้นตามโครงสร้างของเนื้อหาเป็นหลัก

....4. การกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็นการกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้น เมื่อผู้เรียนเรียนจบบทเรียนโดยอาจเป็นจุดประสงค์ทางด้านความรู้ ความคิด ทางด้านทักษะกระบวนการ หรือทางด้านเจตคติ ดังนั้นการจะกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมให้ครอบคลุมภารกิจ และสอดคล้องกับโครงสร้างของเนื้อหานั้นเราจึงควรมีการวิเคราะห์ภารกิจของผู้เรียน(Task Analysis) ในกิจกรรมการเรียนรู้จากเริ่มต้นไปจนจบบทเรียน แล้วเขียนเป็นจุดประสงค์ โดยความสามารถที่เกิดขึ้นท้ายสุดเป็นผลรวมของความสามารถในขั้นต้น และความสามารถนั้นก็คือพฤติกรรมที่เราต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเราเรียกพฤติกรรมท้ายสุดที่ต้องการให้เกิดขึ้นว่า จุดประสงค์ปลายทางนั่นก็คือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่เราได้จากการวิเคราะห์หลักสูตรนั่นเอง และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนรู้เราเรียกว่า จุดประสงค์นำทางในการเขียนจุดประสงค์นำทางเราจะเขียนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

.......จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นจุดประสงค์ที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่กำหนด ส่วนที่ 2 คือ พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้น และ 3 คือ เกณฑ์ของความสำเร็จ ตัวอย่างเช่น เมื่อกำหนดตัวอย่างชื่อพืชที่มีทั้งพืชมีดอกและพืชไม่มีดอกให้สามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่มคือพืชมีดอกและไม่มีดอกได้
.....5. การออกแบบการประเมินผล เมื่อจัดทำรายละเอียดของเนื้อหา วิเคราะห์ภารกิจและเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมครบถ้วนหมดแล้ว ขั้นต่อไปก็ดำเนินการจัดทำแบบทดสอบเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งควรจัดทำแบบทดสอบ 2 ระดับ คือ
........5.1 แบบทดสอบประจำหน่วย (Summative Test) แบบทดสอบที่เหมาะกับการจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ควรเป็นแบบทดสอบประเภทปรนัย (Objective Test)แบบทดสอบชุดนี้ จะใช้เป็นแบบทดสอบเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ประจำหน่วย ในลักษณะการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (Pre-test & Post-test)

.......5.2. แบบทดสอบประจำตอน (Formative Test) จากการที่เราได้วิเคราะห์เนื้อหาของบทเรียนออกเป็นเนื้อหาย่อยๆ วิเคราะห์ภารกิจการเรียนรู้ของนักเรียนออกเป็น ตอนๆ และเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมแล้วนั้น เราควรจัดทำแบบทดสอบประจำตอนนั้น ๆ ด้วย เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน เกี่ยวกับผลการเรียนรู้ของเขา เพราะจากการวิจัยพบว่าผู้เรียนจะมีผลการเรียนดีขึ้นหากได้ทราบผลการเรียน (Feed back) ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ

.....การจัดทำแบบทดสอบทั้งในระดับประจำหน่วยการเรียนรู้ และประจำตอนนั้น ควรได้รับการหาประสิทธิภาพด้วยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับ เช่น การหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ การหาค่าความยากง่าย ค่าความเชื่อมั่น (ความเที่ยง) และค่าอำนาจจำแนก เป็นต้น
....6. การสร้างแผนภูมิการเรียนรู้ (Learning Flow Chart) จากการดำเนินการดังที่กล่าวมาแล้วเราจะได้จุดประสงค์ปลายทาง (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง) ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของหน่วย แบบทดสอบประจำหน่วย เนื้อหาย่อยเป็นตอน ๆ ภารกิจของผู้เรียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม และแบบทดสอบประจำตอน เราก็จะสามารถเขียนแผนภูมิการเรียนรู้ของหน่วยการดำรงชีวิตของพืชได้
ค. ขั้นการพัฒนาบทเรียน (Development)

....1. การเขียนสคริบ (Scripting) เป็นการจัดทำรายละเอียดการนำเสนอตามแบบที่กำหนดไว้ ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบการสอนจะต้องเขียนรายละเอียดของเนื้อหาเป็นกรอบ(Frame) ตามแบบของการเขียน เพื่อกำหนดว่าจะใช้ข้อความ ภาพ เรื่อง สี ขนาด แบบตัวอักษร ฯลฯ และการกำหนดปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
....2. การออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard) หมายถึง เรื่องราวของบทเรียนประกอบด้วยเนื้อหาที่แบ่งออกเป็นเฟรมๆ ตั้งแต่เฟรมแรกซึ่งเป็น Title ของบทเรียนจนถึงเฟรมสุดท้าย บทดำเนินเรื่องจึงประกอบด้วย ภาพข้อความ คำถาม-คำตอบ และรายละเอียดอื่นๆ จากแผนภูมิการเรียนรู้ (Learning Flow Chart) ในข้อ 6 จะเห็นว่ามีเนื้อหาย่อยๆ อยู่ 4 ตอน แต่ละตอนสามารถเขียนบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)
....2. แบบแตกกิ่ง (Branching Program) บทเรียนรูปแบบนี้ มีกรอบการเรียนรู้ที่เป็นทางเลือกให้ผู้เรียน ทำให้สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี การจะออกแบบบทเรียนให้มีโครงสร้าง แตกกิ่ง อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหาผู้ออกแบบบทเรียนวิเคราะห์ และกำหนดซึ่งมีรูปแบบดังนี้

.......2.1 แบบซ้ำกรอบเดิม (Linear format with repetition) มีลักษณะที่คล้ายกับบทเรียนแบบเส้นตรง แต่มีคำถามแทรกระหว่างกรอบเนื้อหา ถ้าผู้เรียนตอบถูกต้อง จะได้ผ่านไปกรอบถัดไป ถ้าตอบไม่ถูกต้อง จะย้อนกลับมายังกรอบเนื้อหาเดิมอีกครั้ง และตอบคำถามเดิมอีกครั้ง โครงสร้างแบบนี้เหมาะกับบทเรียนประเภทติวเตอร์ แบบฝึกหัด เกมเพื่อการศึกษา และสถานการณ์จำลอง
.........2.2 แบบทดสอบข้ามกรอบ (Pretest and skip format) เป็นบทเรียนที่ทดสอบความรู้ของผู้เรียนก่อนเรียนเนื้อหา ถ้าทดสอบผ่าน ก็จะข้ามกรอบที่ผู้เรียนรู้เนื้อหานั้น ๆ แล้วไปยังกรอบเนื้อหาอื่นๆ โครงสร้างแบบนี้เหมาะสมกับบทเรียนประเภท ติวเตอร์แบบฝึกหัด เกมเพื่อการสอน และสถานการณ์จำลอง


........2.3 แบบข้ามและย้อนกลับ (Gates Frames) มีลักษณะโครงสร้างแบบ เส้นตรงมีกรอบคำถามอยู่ระหว่างกรอบเนื้อหาหลายกรอบ และถ้าตอบผิด อาจย้อนกลับไป กรอบเนื้อหาใดๆ ตามที่ผู้ออกแบบบทเรียนกำหนดไว้ โครงสร้างแบบนี้เหมาะกับ บทเรียนประเภทติวเตอร์ แบบฝึกหัด เกมเพื่อการสอน และสถานการณ์จำลอง


........2.4 แบบเส้นทางเดินหลายทาง (Secondary tracks) เป็นบทเรียนที่มีทางเดินหลายระดับ โดยเส้นทางที่ 1 เป็นกรอบเนื้อหาหลัก ไม่มีรายละเอียดมากนัก ถ้าผู้เรียนเลือกเรียนเฉพาะเส้นทางที่ 1 ผู้เรียนจะได้รายละเอียดของเนื้อหาในระดับหนึ่ง แต่ถ้าต้องการรายละเอียดมากขึ้น ก่อนจะไปสู่กรอบเนื้อหาต่อๆ ไป จะต้องไปศึกษา ในทางเดินระดับที่ 2และ 3 โครงสร้างประเภทนี้เหมาะกับบทเรียนประเภท ติวเตอร์ ซึ่งเนื้อหาของบทเรียน มีลักษณะของไฮเปอร์เท็กซ์ และไฮเปอร์มีเดีย (Hypertext and Hypermedia)

....3. การประเมินบทเรียน (Content Correctness) หลังจากการจัดทำ Story board เสร็จแล้ว ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาอย่างน้อย 3 – 5 คน ได้ประเมินเกี่ยวกับความเที่ยงตรงเค้าโครงสร้างของเนื้อหาก่อน ได้ข้อเสนอแนะแล้วนำมาปรับปรุงอีกครั้ง


.......2.5 แบบกรอบเสริมเชิงเดี่ยว (Single remedial branch) เป็นบทเรียนที่เริ่มด้วยกรอบเนื้อหา ตามด้วยกรอบคำถาม ถ้าผู้เรียนตอบถูกจะไปเรียนกรอบต่อไปแต่ถ้าตอบผิดผู้เรียนจะต้องไปเรียนกรอบซ่อมเสริมก่อนจะไปเรียนกรอบต่อไป ลักษณะบทเรียนประเภทนี้เหมาะกับบทเรียนประเภท ติวเตอร์ และแบบฝึกหัด


.......2.6 แบบมีห่วงกรอบช่วยเสริม (Remedial loops) มีลักษณะคล้ายกับแบบกรอบเสริมเชิงเดี่ยว ต่างกันที่ กรอบช่วยเสริมมีหลายกรอบ ประกอบกันเป็นชุด หลาย ๆ กรอบ ซึ่งเป็นกรอบที่ปูพื้นฐานความรู้ ข้อมูลให้ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนได้รับการซ่อมเสริมแล้ว จะส่งกลับมายังกรอบเนื้อหาเดิม เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความรู้จากการซ่อมเสริม มาศึกษากรอบเนื้อหาเดิมนั้น และตอบคำ ถามใหม่อีกครั้ง ก่อนจะไปเรียนกรอบเนื้อหาต่อไป โครงสร้างแบบนี้เหมาะสมกับบทเรียนประเภทติวเตอร์ และแบบฝึกหัด

........2.7 แบบแตกกิ่งคู่ (Branching frame sequence) บทเรียนลักษณะนี้ประกอบด้วยกรอบเนื้อหา กรอบคำถาม และกรอบซ่อมเสริม เมื่อผู้เรียน เรียนรู้เนื้อหาจะไปสู่กรอบคำถามซึ่งมีคำตอบให้เลือกตอบหลายตัวเลือกถ้าผู้เรียนตอบถูก จะไปเรียนกรอบต่อไป ถ้าตอบผิดในตัวเลือกที่ 1 จะไปสู่กรอบซ่อมเสริมสำหรับตัวเลือกที่ 1 ถ้าตอบผิดในตัวเลือกที่ 2 จะไปสู่กรอบซ่อมเสริมสำหรับตัวเลือกที่ 2 หากมีหลายตัวเลือกจะมีกรอบซ่อมเสริมหลายกรอบ เมื่อผู้เรียน เรียนกรอบซ่อมเสริมแล้วต้องกลับไปเรียน ในกรอบเนื้อหาใหม่ และทำกรอบทดสอบอีกครั้ง จนกว่าจะตอบถูก จึงจะไปสู่กรอบเนื้อหาต่อไป โครงสร้างลักษณะนี้เหมากับบทเรียนประเภทติวเตอร์ แบบฝึกหัด สถานการณ์จำลอง

.........2.8 แบบแตกกิ่งประกอบ (Compound branches) มีลักษณะที่เหมาะกับบทเรียนประเภทใช้วินิจฉัยข้อบกพร่องของผู้เรียน หรือสถานการณ์แก้ปัญหา คำถามจะอยู่ในลักษณะใช่ ไม่ใช่ จากคำตอบ ใช่ หรือไม่ใช่ที่ผู้เรียนเลือกตอบ จะพาผู้เรียนไปยังกรอบคำถาม หรือ เนื้อหากรอบต่อไปตามพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนแต่ละคน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น