หน่วยที่ 4

หน่วยการเรียนที่ 4  จิตวิทยาการเรียนการสอน

ความหมายของจิตวิทยา                               
     จิตวิทยาเป็นศาสตร์เกี่ยวกับพฤติกรรมและประสบการณ์ของมนุษย์ โดยมีจุดหมายเพื่อค้นคว้าหาคำตอบเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และวิธีที่เขาได้รับประสบการณ์ต่างๆ  จากโลกรอบๆตัวเขา



ความหมายของจิตวิทยาในปัจจุบัน
     ความหมายของจิตวิทยาในปัจจุบันหมายถึง วิทยาศาสตร์  (science)  ที่ศึกษาเรื่องพฤติกรรม (behavior) และกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง (Mental Process)
      จากความหมายของจิตวิทยาข้างต้น จะเห็นว่า จิตวิทยาเกี่ยวข้องกับคำ 3 คำ คือวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมและกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติม  ดังนี้
     
    1.) จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ หรือเป็นศาสตร์นั้น หมายความว่า เป็นความรู้ทางจิตวิทยาที่เชื่อถือได้ เป็นความรู้ที่ได้จากสังเกตการวัด การทดลอง และการตรวจสอบอย่างรัดกุมมีระบบแบบแผนที่แน่นอนจนสามารถสรุปเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีต่างๆ เพื่อนำไปใช้อธิบาย ทำนายและควบคุมปรากฏการณ์ต่างๆ ได้                                                             
     2.)พฤติกรรม คือการกระทำและการตอบสนองของอินทรีย์ นักจิตวิทยามักจะศึกษาพฤติกรรมภายนอกเพราะเป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตและวัดได้  พฤติกรรมภายนอกได้แก่ การกระทำต่างๆ ของมนุษย์ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตา เช่น การเดิน  การพุด  ฯลฯ  หรืออาจจะใช้เครื่องมืออื่นๆ  เช่น การใช้เครื่องวัด  วัดอัตราการหายใจ  คลื่นสมอง  ความดันโลหิต   และอื่นๆ
     3.) กระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง เป็นพฤติกรรมภายในได้แก่ การกระทำที่ผู้อื่นไม่สามารถมองเห็นได้เช่น การรับรู้ ความคิด ความจำ ความรู้สึกและอารมณ์ การศึกษาพฤติกรรมภายในทำได้หลายวิธีเช่น การให้ผู้ที่เราต้องการจะศึกษารายงานตนเองหรือการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ โดยการนำเครื่องมือต่างๆมาใช้เช่น เครื่องวัดความวิตกกังวล (EKG)  เครื่องมือวัดคลื่นสมอง (EEG) และเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CAT หรือ Scan) เป็นต้น




ความเป็นมาของจิตวิทยา
      คำว่า จิตวิทยาตรงกับภาษาอังกฤษว่า ไซโคโลยี (Psychology) มาจากศัพท์เดิมภาษากรีก2คำคือ  ไซคี และ โลกอส (Psyche and Logos)
           ไซคี แปลว่า จิตใจ( Mind )หรือวิญญาณ           
           โลกอส แปลว่า การศึกษา (Study) หรือแบบของการสอน (line of teaching)                  
     ฉะนั้น เมื่อรวมเข้าด้วยกันจิตวิทยาจึงไซคี และโลกอส หมายถึง การศึกษาเรื่องของจิตหรือวิญญาณ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนการสอน
        คำว่า การเรียนการสอน อาจจะเป็นเรื่องง่ายๆและตรงไปตรงมาเริ่มตั้งแต่ครูเตรียมการสอนเตรียมเนื้อหา และสอนให้ตรงตามหลักสูตรที่กำหนดไว้  แต่ความเป็นจริงแล้ว การเรียนการสอนมิได้ง่ายอย่างที่คิด ดังที่ สุมน อมรวิวัฒน์ (2541:5)  กล่าวไว้ในบทความเรื่อง ทำไมต้องปฏิรูปการเรียนรู้ตอนหนึ่งว่า
         ....การสอนตามเนื้อหาหนังสือ และหลักสูตรซึ่งไม่มีหลักสูตรใดจะยืนยงคงกระพันไม่ล้าสมัย ไม่มีหนังสือเล่มใดจะครอบคลุมเรื่องที่ต้องเรียนให้หมด  ไม่มีครูคนใดบอกเด็กได้ทุกเรื่อง ทุกเวลา ทุกคน ด้วยเหตุนี้ครูจึงอยู่เฉยไม่ได้แล้ว  ถ้าครูไม่ปรับปรุงคุณภาพของการสอน เด็กใน 10 ปีข้างหน้าจะมีคุณภาพเหมือนเราและล้าหลังยิ่งกว่าเรา...
        จากข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า คุณภาพของเด็กในวันนี้คือคุณภาพของประชากรในวันข้างหน้า และคุณภาพการศึกษา คุณภาพประชากรอยู่ที่การสอนของครู วิชาจิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนการสอน ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งด้านตัวนักเรียนและการสอนของครู จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้ครูเข้าใจบทบาทของตนเอง และเข้าใจธรรมชาติของนักเรียน เข้าใจกระบวนการเรียนการสอน และครูสามารถพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียน


 ขอบข่ายของจิตวิทยาการเรียนการสอน
        ได้มีผู้กล่าวถึงขอบข่ายของจิตวิทยาการเรียนการสอนไว้หลายท่าน เช่น
             สุพล บุญทรง (2531:21)ได้กล่าวถึงจุดที่สำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอนในเรื่องที่เกี่ยวกับตัวผู้เรียน แบ่งเป็น 2 เรื่องใหญ่ คือ ตัวผู้เรียนและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง กับการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยที่ผู้สอนต้องรู้ว่าผู้เรียนมีพัฒนาการ และองค์ประกอบในการเรียนรู้อย่างไรโดยศึกษาจากจิตวิทยาพัฒนาการ  จิตวิทยาการเรียนรู้ หรือจิตวิทยาการศึกษา
              กุญชรี ค้าขาย (2536:101) ได้กล่าวถึงขอบข่ายของจิตวิทยาการเรียนการสอนว่า ประกอบด้วยความรู้ 4 ด้าน คือ
           1.ความรู้เรื่องพัฒนาการของมนุษย์
           2.หลักการเรียนการสอน
           3.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
           4.การนำหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน
               โกวิทย์ ประวาลพฤกษ์ และคณะ (2534:71-75) ได้กล่าวถึงลักษณะทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนว่ามาจาก 3 แหล่ง คือ
            1.จิตวิทยาพัฒนาการเด็กซึ่งมุ่งศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ในด้านต่างๆ
            2.จิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องการรับรู้ ความจำ การเข้าใจสิ่งใหม่ๆ และการจัดโครงสร้างทางความรู้ความคิด
            3.จิตวิทยาการเรียนการสอน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ครูและนักเรียนร่วมกันดำเนินการเพื่อให้บรรลุผล






จิตวิทยาการเรียนการสอน ( Education Psychology) วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน โดยเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนวิธีการนำความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดขึ้นประยุกต์ใช้ในการสอนให้ได้ผลดี

จิตวิทยาการศึกษา ความมุ่งหมายและประโยชน์ มีดังนี้
1.             จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ และการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์ และด้านการปฏิบัติ
2.             ด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ ต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก
3.             ด้านสังคม ช่วยให้ครู นักเรียน เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง
4.             ปกครองและการแนะแนว ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบเสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม

สาขาของจิตวิทยา
1.             จิตวิทยาสังคม (Social Psychology ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ หรือกับสังคม
2.             จิตวิทยาพัฒนาการ ( Developmental เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
3.             จิตวิทยาการเรียนการสอน ( Psychology in Teaching and Learning ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเรียนการสอนและสิ่งที่ส่งเสริมให้บุคคลได้เกิดการเรียนรู้
4.             จิตวิทยาคลีนิค ( Clinical Psychology ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุพฤติกรรมผิดปกติของมนุษย์ และวิธิการบำบัดรักษา
5.             จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning ) เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
6.             จิตวิทยาประยุกต์ ( Applied Psychology ) เป็นการนำหลักการต่าง ๆ ทางจิตวิทยามาใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ เช่น ธุรกิจ อุตสาหกรรม การเมือง การติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ
7.             จิตวิทยาทั่วไป ( General Psychology ) เป็นการนำเอาหลักทั่วไป ทางจิตวิทยาไปใช้เป็น พื้นฐานทางการศึกษา จิตวิทยาสาขาอื่น ๆ และในการประกอบอาชีพทั่ว ๆ ไป หรือใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน



กฎการเรียนรู้ 5 กฎ

กฎแห่งผล (Law of Effect) คือ การเรียนรู้จะเกิดผลดีถ้ามีการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองในลักษณะที่พอใจ
กฎแห่งการฝึก (Law of Exercise) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่ออินทรีย์ได้รับการฝึกฝนบ่อยครั้ง
กฎแห่งการใช้ (Law of Used) มีการกระทำหรือใช้บ่อย ๆ การเรียนรู้จะยิ่งคงทนถาวร
กฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disused) ไม่มีการกระทำหรือไม่ใช้การเรียนรู้ก็อาจเกิดการลืมได้
กฎแห่งความพร้อม ((Law of Leadines) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะเรียน

การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)
การเรียนรู้อย่างหนึ่งแล้วมีผลต่อการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่ง อาจมีผลทางบวก ลบ ก็ได้ เช่น การเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลังก็สามารถถ่ายโยงไปมีผลกับเรื่องแยกตัวประกอบได้ การถ่ายโยงจึงเป็นการที่บุคคลนำสิ่งหนึ่งไปใช้กับอีกสิ่งหนึ่ง
เรียนคณิตศาสตร์เก่งจะนำไปสู่การเรียน ฟิสิกส์ เคมี ได้ดี
การเตะบอล นำไปสู่การเล่นทีม
การถ่ายโยงการเรียนรู้ประเภทลบ (Negative Transfer of Learning) การเรียนรู้สิ่งหนึ่งมีผลกับการรู้อีกสิ่งหนึ่งในทางเลวลง
การขับรถเมืองไทย เลนซ้าย ไปอีกประเทศหนึ่งต้องขับเลนขวา ทำให้ประสิทธิภาพลดลง




ปัจจัยเสริมการเรียนรู้
แรงขับ (Drive) แรงผลักดันที่เกิดขึ้นภายในร่างกายเพื่อให้ร่ายกายแสดงพฤติกรรมออกมา แรงขับเกิดจากความไม่สมดุลของร่างกาย
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท                              

1.             แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดจากสิ่งเร้าภายในมีความสำคัญมาก เช่น หิว กระหาย อยากเรียน

2.             แรงขับทุติยภูมิ (Secondary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น ต้องการมีชื่อเสียง ต้องการรางวัล


I.Q. (Intelligence Quotient) เกณฑ์ภาคเชาวน์ คือ ความสามารถในการศึกษา อาชีพ การปรับตัว
140 ขั้นไป = ฉลาดที่สุด
121 – 140 = อัจฉริยะ
111 - 120 = ฉลาดมาก
91 – 90 = ทึบ
71 – 80 = คาบเส้น
51 – 70 = ปัญญาอ่อนเล็กน้อย
26 – 50 = ปัญญาอ่อน
0 – 25 = โง่บัดซบ



การเรียนรู้  เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย  สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลก

จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
                พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ  (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน  ๓  ด้าน    ดังนี้
                ๑.  ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์และประเมินผล
                ๒.  ด้านเจตพิสัย (Affective Domain )  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก  ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ  ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
                ๓.  ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว  การกระทำ  การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ

องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
                ดอลลาร์ด และมิลเลอร์  (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔  ประการ คือ
                ๑.  แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล    เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ  แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
                ๒.  สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ   ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา  หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู  กิจกรรมการสอน  และอุปกรณ์การสอนต่างๆ   ที่ครูนำมาใช้
                ๓.  การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้    เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง  คำพูด การคิด  การรับรู้  ความสนใจ และความรู้สึก  เป็นต้น
                ๔.  การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก

ธรรมชาติของการเรียนรู้
                การเรียนรู้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
                ๑.  การเรียนรู้เป็นกระบวนการ  การเกิดการเรียนรู้ของบุคคลจะมีกระบวนการของการเรียนรู้จากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ ๕ ขั้นตอน คือ
                     ๑.๑  มีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล
                     ๑.๒  บุคคลสัมผัสสิ่งเร้าด้วยประสาททั้ง ๕
                     ๑.๓  บุคคลแปลความหมายหรือรับรู้สิ่งเร้า
                     ๑.๔  บุคคลมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้
                     ๑.๕  บุคคลประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

การเรียนรู้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้า (Stimulus) มากระตุ้นบุคคล  ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัส (Sensation) ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕  แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้ (Perception)ใหม่  อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น  เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Concept) และมีปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) อย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้า  ตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่า  เกิดการเรียนรู้แล้ว
               
๒.  การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ 
                วุฒิภาวะ คือ ระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญาของบุคคลแต่ละวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ  แม้ว่าการเรียนรู้จะไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้ต้องอาศัยวุฒิภาวะด้วย  เพราะการที่บุคคลจะมีความสามารถในการรับรู้หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นมีวุฒิภาวะเพียงพอหรือไม่
๓.  การเรียนรู้เกิดได้ง่าย ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
                การเรียนสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน คือ การเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนหรือสนใจจะเรียน เหมาะกับวัยและวุฒิภาวะของผู้เรียนและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน  การเรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียนย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนไม่ต้องการหรือไม่สนใจ
๔.  การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน 
                ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน บุคคลต่างกันอาจเรียนรู้ได้ไม่เท่ากันเพราะบุคคลอาจมีความพร้อมต่างกัน  มีความสามารถในการเรียนต่างกัน  มีอารมณ์และความสนใจที่จะเรียนต่างกันและมีความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเรียนต่างกัน 
ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน  ถ้าใช้วิธีเรียนต่างกัน ผลของการเรียนรู้อาจมากน้อยต่างกันได้  และวิธีที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากสำหรับบุคคลหนึ่งอาจไม่ใช่วิธีเรียนที่ทำให้อีกบุคคลหนึ่งเกิดการเรียนรู้ได้มากเท่ากับบุคคลนั้นก็ได้

การถ่ายโยงการเรียนรู้
                การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer) และการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer
               
               การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer) คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลของการเรียนรู้งานหนึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น หรือดีขึ้น   การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก มักเกิดจาก
                ๑.  เมื่องานหนึ่ง มีความคล้ายคลึงกับอีกงานหนึ่ง  และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้งานแรกอย่างแจ่มแจ้งแล้ว
                ๒.  เมื่อผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างงานหนึ่งกับอีกงานหนึ่ง
                ๓.  เมื่อผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะนำผลการเรียนรู้จากงานหนึ่งไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับการเรียนรู้อีกงานหนึ่ง  และสามารถจำวิธีเรียนหรือผลของการเรียนรู้งานแรกได้อย่างแม่นยำ
                ๔.  เมื่อผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  โดยชอบที่จะนำความรู้ต่างๆ ที่เคยเรียนรู้มาก่อนมาลองคิดทดลองจนเกิดความรู้ใหม่ๆ
                
                การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer)  คือการถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลการเรียนรู้งานหนึ่งไปขัดขวางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้ช้าลง  หรือยากขึ้นและไม่ได้ดีเท่าที่ควร  การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ อาจเกิดขึ้นได้ ๒ แบบ คือ
                ๑.  แบบตามรบกวน (Proactive Inhibition)  ผลของการเรียนรู้งานแรกไปขัดขวางการเรียนรู้งานที่ ๒
                ๒.  แบบย้อนรบกวน (Retroactive Inhibition)  ผลการเรียนรู้งานที่ ๒ ทำให้การเรียนรู้งานแรกน้อยลง
การเกิดการเรียนรู้ทางลบมักเกิดจาก
-  เมื่องาน ๒ อย่างคล้ายกันมาก แต่ผู้เรียนยังไม่เกิดการเรียนรู้งานใดงานหนึ่งอย่างแท้จริงก่อนที่จะเรียนอีกงานหนึ่ง  ทำให้การเรียนงาน ๒ อย่างในเวลาใกล้เคียงกันเกิดความสับสน
-  เมื่อผู้เรียนต้องเรียนรู้งานหลายๆ อย่างในเวลาติดต่อกัน  ผลของการเรียนรู้งานหนึ่งอาจไปทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนในการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้

การนำความรู้ไปใช้
                ๑.  ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่  ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
                ๒.  พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
                ๓.  ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
                ๔.  ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
                ๕.  พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน
               
ลักษณะสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น จะต้องประกอบด้วยปัจจัย  ๓  ประการ  คือ
                .   มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทน   ถาวร
                ๒.  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ  เท่านั้น

                ๓.  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวจะมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้  ความเข้าใจ  ความรู้สึกและความสามารถทางทักษะทั้งปริมาณและคุณภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น